โรครูมาตอยด์ หรือโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสร้างสารขึ้นมา แล้วเกิดต่อต้านตัวมันเอง คล้ายลักษณะกับโรคลูปัสหรือเอสแอลอี แต่แตกต่างกันตรงที่โรครูมาตอยด์สารดังกล่าวไปต่อต้านอวัยวะที่สำคัญที่สุดก็ คือ ข้อ
โรคนี้พบได้บ่อยส่วนใหญ่ จะพบในผู้ป่วยวัยกลางคน และพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โรครูมาตอยด์เป็นได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย และเป็นได้เกือบทุกอายุ แต่ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะเป็นผู้หญิง อายุ 30-40 ปี
สถิติของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ในประเทศไทย พบประมาณ 1 ใน 100 คน ในประเทศสหรัฐอเมริกา พบผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ร้อยละ ของประชากร ผู้ป่วยบางรายปวดมาเป็นปีแล้วเพึ่งมาตรวจ จนกระทั่งโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์กินเข้าไปในเนื้อกระดูก ทำให้ข้อหงิกงอผิดรูป
โรครูมาตอยด์เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเด่นคือ มีการเจริญงอกงามของเยื่อบุข้ออย่างมาก เยื่อบุข้อนี้จะลุกลามและทำลายกระดูกและข้อในที่สุด โรคนี้มิได้เป็นแต่เฉพาะข้อเท่านั้น ยังอาจมีอาการทางระบบอื่น ๆ อีก เช่น ตา ประสาท กล้ามเนื้อ เป็นต้น
เมื่อเป็นโรครูมาตอยด์ เยื่อบุข้อจะมีการเจริญงอกงามและมีการหนาตัว จากนั้นจะลุกลามทำลายกระดูกและข้อในที่สุด ในระยะแรกผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการอ่อนเพลีย ปวดตามข้อ มีอาการฝืดขัดข้อเป็นเวลานานในตอนเช้า เมื่อมีอาการชัดเจนข้อจะมีการบวม ร้อน และปวด โรคนี้สามารถเป็นได้กับทุกข้อของร่างกาย แต่ที่พบไดบ่อยคือข้อของนิ้วมือ ข้อมือ ข้อเข่า ข้อเท้า และข้อนิ้วเท้า อาการของข้ออักเสบจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ในบางรายอาจมีอาการรุนแรงแบบเฉียบพลันได้ บางรายอาจมีไข้ เบื่ออาหาร และน้ำหนักลดร่วมด้วยได้ ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจมีอาการทางระบบตา ปอด และมีปุ่มขึ้นตามตัวได้
สาเหตุของโรครูมาตอยด์
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดโรค แต่กระบวนการโรคเกี่ยวข้องกับการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน โรคข้ออักเสบรูมารตอยด์อาจเกิดหลังการติดเชื้อ ไวรัสหรือแบคทีเรียบางชนิด ซึ่งกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกายอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหน้าที่การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน โดยทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุข้อและมีการหนาตัวขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดการทำลายข้อและอาจมีอาการเกิดขึ้นกับอวัยวะระบบต่างๆ ของร่างกายได้
โรคนี้มีอาการแสดงได้หลายรูปแบบ การตรวจวินิจฉัยโรคจึงต้องอาศัยการตรวจทางร่างกายร่วมกับการตรวจเลือด การเอกซเรย์ การตรวจน้ำในข้อ เป็นต้น
โรคนี้มีอาการแสดงได้หลายรูปแบบ การตรวจวินิจฉัยโรคจึงต้องอาศัยการตรวจทางร่างกายร่วมกับการตรวจเลือด การเอกซเรย์ การตรวจน้ำในข้อ เป็นต้น
อาการของโรคมีการดำเนิน 3 แบบ ดังนี้
1. แบบโรครุนแรงต่อเนื่อง มีการอักเสบของข้อแบบค่อยเป็นค่อยไปทีละน้อยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องนานหลายปี อาจมีการอักเสบกำเริบเป็นครั้งคราวจนเกิดความผิดรูปของข้อต่างๆ มักเป็นกับผู้ที่เป็นโรคนี้ตั้งแต่อายุน้อย
ผู้ป่วยมีอาการปวดตามข้อ และมีการอักเสบร่วมด้วย ลักษณะอาการก็คือ นอกจากจะปวดตามข้อแล้ว ยังมีการบวมของข้อ หรือแดงร้อนได้ หรือแค่อุ่นๆ จะรู้สึกได้ ถ้าวางมือที่ข้อทั้งสองข้างเพื่อเปรียบเทียบกัน หรือเทียบกับบริเวณผิวหนังที่อยู่ข้างๆ กัน ซึ่งอาจมีอุณหภูมิที่แตกต่างกัน ที่สำคัญก็คือ ผู้ป่วยจะมีอาการข้อขัดในเวลาเช้าเป็นอีกลักษณะหนึ่งของการอักเสบ เช่น กำมือ หรือเหยียดมือไม่ค่อยได้ ส่วนใหญ่อาจเป็นนานประมาณ 30 นาที บางรายอาจกำมือหรือเหยียดมือไม่ได้จึงถึงช่วงบ่าย
2. แบบกำเริบและสงบสลับกัน โดยมีจำนวนข้อที่อักเสบไม่กี่ข้อและมักไม่รุนแรงนานเกินหนึ่งปี โดยมีระยะสงบนานหลายปีจึงไม่พบการทำลายข้อ แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีการกำเริบของโรคบ่อยครั้ง มีจำนวนข้อที่อักเสบเพิ่มมากขึ้นและเป็นนานขึ้น โดยมีระยะสงบสั้นลง จนในที่สุดกลายเป็นข้ออักเสบเรื้อรังและมีการทำลายข้อในที่สุด
อาการระยะเริ่มแรกส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะปวดข้อ อาการบวมอาจยังไม่ชัดเจน ผู้ป่วยบางรายอาจปวดแค่ 2-3 ข้อ แต่ข้อที่มักจะเป็นมากที่สุด จะเป็นในมือและเท้า ข้อต่อนิ้วมือและข้อกลางนิ้วมือ ข้อปลายนิ้วมือไม่ค่อยเป็น และมักเป็นทั้งสองข้าง ส่วนที่เท้ามักเป็นที่ข้อเท้า และข้อของนิ้วเท้า ความรุนแรงของโรคที่มากที่สุดอาจพบว่า มือบวมไปหมดทั้งมือ แต่ทั้งก็ยังสามารถรักษาอาการบวมได้ ถ้ารุนแรงที่สุดคือ กระดูกถูกทำลายไปแล้วถืงขั้นกระดูกหงิกงอ
3. แบบโรคสงบนาน มีการอักเสบของข้อที่รุนแรงพร้อมไข้สูงอย่างเฉียบพลันนานประมาณ 6 เดือน ก็จะเข้าสู่ระยะสงบนานเป็นสิบปี
โรครูมาตอยด์จัดเป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเด่น คือ มีการเจริญงอกงามของเยื่อบุข้ออย่างมาก เยื่อบุข้อนี้จะลุกลามและทำลายกระดูกและข้อในที่สุด โรคนี้มิได้เป็นแต่เฉพาะข้อเท่านั้นยังอาจมีอาการทางระบบอื่นๆ อีก เช่น ตา ประสาท กล้ามเนื้อ เป็นต้น เมื่อเป็นโรครูมาตอยด์ เยื่อบุข้อจะมีการเจริญงอกงามและมีการหนาตัว จากนั้นจะลุกลามทำลาย ระดูกและข้อในที่สุด ในระยะแรกผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการอ่อนเพลีย ปวดตามข้อ มีอาการฝืดขัดข้อเป็นเวลานานในตอนเช้า เมื่อมีอาการชัดเจนข้อจะมีการบวม ร้อน และปวด โรคนี้สามารถเป็นได้กับทุกข้อของร่างกาย แต่ที่พบได้บ่อยคือ ข้อของนิ้วมือ ข้อมือ ข้อเข่า ข้อเท้า และข้อนิ้วเท้า อาการของข้ออักเสบจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ในบางรายอาจมีอาการรุนแรงแบบเฉียบพลันได้ บางรายอาจมีไข้ เบื่ออาหาร และน้ำหนักลดร่วมด้วยได้ ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจมีอาการทางระบบตา ปอด และมีปุ่มขึ้นตามตัวได้
ปัจจุบันยังไม่มียาหรือวิธีการรักษาให้หายขาด การได้รับการรักษาต่อเนื่องตั้งแต่ระยะแรกของโรค 1-2 ปี จะทำให้ความรุนแรงของโรคลดลง สามารถควบคุมโรคได้ และข่วยลดการเกิดข้อพิการได้ วิธีการรักษามีดังนี้
1. การรักษาทางยา เพื่อลดอาการปวดและการอักเสบของข้อ ระยะแรกแพทย์อาจให้ยาขนาดสูง ผู้ป่วยควรสังเกตและเฝ้าระวังผลข้างเคียงของยา โดยเฉพาะในผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำตัว
2. การทำกายภาพบำบัด ควรหมั่นบริหารข้ออย่างต่อเนื่องจะช่วยลดอาการปวดและการอักเสบ เพื่อรักษาหน้าที่และสมรรถภาพของข้อไว้และป้องกันความพิการของข้อ
3. การรักษาทางศัลยกรรม ข้อที่มีความพิการผิดรูป
หรือข้อที่ถูกทำลายอย่างมากและยังต้องการเคลื่อนไหวใช้งานอาจรักษาด้วยการผ่าตัด เช่น การตัดเนื้อเยื่อออกหรือเสริมแต่งข้อ การใช้ข้อเทียม เป็นต้น