โรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจตอนบนที่พบบ่อยเกือบตลอดปีเป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
โดยเฉพาะเด็กเล็กอาจเป็นปีละหลายครั้ง โรคหวัดมักเป็นในฤดูหนาว ฤดูฝน
หรือช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง และสามารถติดต่อกันได้ง่ายในสถานที่มีกลุ่มคน เช่น
โรงเรียน สถานที่ทำงาน เป็นต้น
สาเหตุของโรคหวัด
- ไข้หวัด เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีอยู่มากกว่า 200 ชนิดของกลุ่มไวรัสต่างๆ
แต่ที่พบบ่อยที่สุดเกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มไรโนไวรัส(rhinovirus) ซึ่งมีมากกว่า
100 ชนิดและเป็นกลุ่มไวรัสที่ติดต่อได้ง่าย
นอกจากนี้มีกลุ่มไวรัสโคโรนา (coronavirus) กลุ่มไวรัสเอนเทอโร (enterovirus) เป็นต้น
- ไข้หวัดใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (influenzavirus) มีอยู่ 3 ชนิดใหญ่เรียกว่า
ชนิด เอ บี และซี ซึ่งแต่ละชนิดยังแบ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยอีกมากมาย
โดยเชื้อไวรัสชนิดเอทำให้เกิดโรคระบาดมากกว่าชนิดอื่นจึงก่อให้เกิดโรคบ่อยที่สุดและมีอาการรุนแรงมากกว่านอกจากนั้นสามารถกลายพันธ์เป็นสายพันธุ์ใหม่ๆ
ซึ่งมักจะรุนแรงมากกว่าสายพันธุ์เดิม
การเป็นโรคไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ในแต่ละครั้งจะเกิดจากเชื้อไวรัสเพียงหนึ่งสายพันธุ์ย่อยเมื่อหายแล้วร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสตัวนั้น
และถ้าเป็นหวัดครั้งใหม่จะเกิดจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่หมุนเวียนไป
อาการของโรคหวัด
• ไข้หวัดจะมีอาการคอแห้งและคันคอ คัดจมูก มีน้ำมูกใส จาม และไอ อาจมีหรือไม่มีเสมหะ บางครั้งอาการไออาจนาน 2-3 สัปดาห์ ไข้หวัดในเด็กมักมีไข้ส่วนผู้ใหญ่อาจไม่มีไข้หรือมีไข้ต่ำๆ
• ไข้หวัดใหญ่จะมีความรุนแรงมากกว่าไข้หวัดแต่ จะอาการค่อนข้างเร็วและ ส่วนใหญ่จะมีอาการภายใน 1-4 วัน หลังการติดเชื้อ
- มีไข้สูง 39 – 40 องศา ประมาณ 2-4 วันไข้จะค่อยๆลดลง หากเป็นในเด็กเล็กอาจทำให้ชักได้ และหญิงตั้งครรภ์อาจทำให้แท้งได้
- ปวดศีรษะรุนแรง ปวดกล้ามเนื้อ-ข้อ และอ่อนเพลียมาก
- ปวดกระบอกตา ตาแดง น้ำตาไหล
- เจ็บคอ และคอแดง
- มีน้ำมูกไหล ไอแห้งๆ อาจไออยู่นาน 1-2 สัปดาห์
- เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียนหรือมีอุจจาระร่วงในบางรายทำให้นอนพักฟื้นหลายวัน
• ไข้หวัดจะมีอาการคอแห้งและคันคอ คัดจมูก มีน้ำมูกใส จาม และไอ อาจมีหรือไม่มีเสมหะ บางครั้งอาการไออาจนาน 2-3 สัปดาห์ ไข้หวัดในเด็กมักมีไข้ส่วนผู้ใหญ่อาจไม่มีไข้หรือมีไข้ต่ำๆ
• ไข้หวัดใหญ่จะมีความรุนแรงมากกว่าไข้หวัดแต่ จะอาการค่อนข้างเร็วและ ส่วนใหญ่จะมีอาการภายใน 1-4 วัน หลังการติดเชื้อ
- มีไข้สูง 39 – 40 องศา ประมาณ 2-4 วันไข้จะค่อยๆลดลง หากเป็นในเด็กเล็กอาจทำให้ชักได้ และหญิงตั้งครรภ์อาจทำให้แท้งได้
- ปวดศีรษะรุนแรง ปวดกล้ามเนื้อ-ข้อ และอ่อนเพลียมาก
- ปวดกระบอกตา ตาแดง น้ำตาไหล
- เจ็บคอ และคอแดง
- มีน้ำมูกไหล ไอแห้งๆ อาจไออยู่นาน 1-2 สัปดาห์
- เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียนหรือมีอุจจาระร่วงในบางรายทำให้นอนพักฟื้นหลายวัน
การติดต่อ
เชื้อไวรัสไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่มีอยู่ในน้ำมูก น้ำลายและเสมหะของผู้ป่วย สามารถแพร่เชื้อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งได้รวดเร็วโดย
- การหายใจเอาเชื้อโรคที่แพร่กระจายอยู่ในอากาศเข้าไปซึ่งมาจากการไอหรือจามของผู้ป่วย
- การสัมผัสน้ำมูก น้ำลายหรือเสมหะของผู้ป่วย จากการสัมผัสถูกมือและสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อหวัด เช่น ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ โทรศัพท์ ปากกา เป็นต้น แล้วใช้นิ้วมือขยี้ตา แคะจมูกหรือเข้าปาก เชื้อหวัดจะเข้าสู่ร่างกายโดยผ่านทางเยื่อบุตา จมูกและปากนอกจากนั้นสภาวะอากาศที่หนาวแห้งทำให้เชื้อไวรัสคงตัวอยู่ในอากาศได้นานมากขึ้น
ระยะติดต่อของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ที่สามารถแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น คือ
- 1 วันก่อนเกิดอาการ
- 5 วันหลังจากมีอาการ
เชื้อไวรัสไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่มีอยู่ในน้ำมูก น้ำลายและเสมหะของผู้ป่วย สามารถแพร่เชื้อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งได้รวดเร็วโดย
- การหายใจเอาเชื้อโรคที่แพร่กระจายอยู่ในอากาศเข้าไปซึ่งมาจากการไอหรือจามของผู้ป่วย
- การสัมผัสน้ำมูก น้ำลายหรือเสมหะของผู้ป่วย จากการสัมผัสถูกมือและสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อหวัด เช่น ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ โทรศัพท์ ปากกา เป็นต้น แล้วใช้นิ้วมือขยี้ตา แคะจมูกหรือเข้าปาก เชื้อหวัดจะเข้าสู่ร่างกายโดยผ่านทางเยื่อบุตา จมูกและปากนอกจากนั้นสภาวะอากาศที่หนาวแห้งทำให้เชื้อไวรัสคงตัวอยู่ในอากาศได้นานมากขึ้น
ระยะติดต่อของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ที่สามารถแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น คือ
- 1 วันก่อนเกิดอาการ
- 5 วันหลังจากมีอาการ
การรักษา
1. ส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการ เช่น ลดไข้ ลดน้ำมูกและลดอาการไอ เป็นต้น โรคหวัดจะหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ ควรดูแลสุขภาพอย่าง
ถูกต้อง
2. ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์และเด็กโตที่มีอาการนานกว่า 7 วัน ควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาไม่ให้มีอาการรุนแรงและป้องกันการ
เกิดโรคแทรกซ้อน
3. ให้ยาปฏิชีวนะ เมื่อมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน แต่สำหรับผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว แพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันไม่ให้เกิด
โรคแทรกซ้อน
4. ให้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่สำหรับกลุ่มที่เลี่ยง เพื่อลดความรุนแรงของโรคและลดการเกิดโรคแทรกซ้อน
1. ส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการ เช่น ลดไข้ ลดน้ำมูกและลดอาการไอ เป็นต้น โรคหวัดจะหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ ควรดูแลสุขภาพอย่าง
ถูกต้อง
2. ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์และเด็กโตที่มีอาการนานกว่า 7 วัน ควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาไม่ให้มีอาการรุนแรงและป้องกันการ
เกิดโรคแทรกซ้อน
3. ให้ยาปฏิชีวนะ เมื่อมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน แต่สำหรับผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว แพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันไม่ให้เกิด
โรคแทรกซ้อน
4. ให้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่สำหรับกลุ่มที่เลี่ยง เพื่อลดความรุนแรงของโรคและลดการเกิดโรคแทรกซ้อน
การป้องกันการเป็นไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่
โรคไข้หวัดใหญ่ถือว่าเป็นโรคติดเชื้อรุนแรง สำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ จะรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายและเกิดการเจ็บป่วยได้ง่าย
1. พักผ่อนให้เพียงพอ อย่าอดนอนหรือนอนรวมกับผู้ที่เป็นโรคหวัด
2. ไม่คลุกคลีใกล้ชิดหรือใช้ของร่วมกับผู้ที่เป็นโรคหวัด เช่น แก้วน้ำ ปากกา เป็นต้น
3. ล้างมือบ่อยๆ หลังการสัมผัสสิ่งของที่อาจปนเปื้อนและหลีกเลี่ยงการใช้มือขยี้ตาแคะจมูกหรือเข้าปาก
4. หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ และอย่าตรากตรำงานหนัก
5. ดูแลร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ โดยเฉพาะผู้สูงอายุสวมเสื้อผ้าให้เหมาะกับฤดูกาล ไม่ควรตากฝนหรือตากแดดที่ร้อนจัดเป็นเวลานานๆ
6. ไม่ควรอยู่ในสถานที่มีคนแออัด โดยเฉพาะเมื่อมีการระบาดของโรคหวัด
7. ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ สำหรับผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ หรือมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคแทรกซ้อน วัคซีนจะป้องกันโรคได้ต่อปี และหลังฉีด 2 สัปดาห์ ร่างกายจึงภูมิคุ้มกันสูงพอในการป้องกันโรค ควรฉีดก่อนมีการระบาดของโรคหวัด
โรคไข้หวัดใหญ่ถือว่าเป็นโรคติดเชื้อรุนแรง สำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ จะรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายและเกิดการเจ็บป่วยได้ง่าย
1. พักผ่อนให้เพียงพอ อย่าอดนอนหรือนอนรวมกับผู้ที่เป็นโรคหวัด
2. ไม่คลุกคลีใกล้ชิดหรือใช้ของร่วมกับผู้ที่เป็นโรคหวัด เช่น แก้วน้ำ ปากกา เป็นต้น
3. ล้างมือบ่อยๆ หลังการสัมผัสสิ่งของที่อาจปนเปื้อนและหลีกเลี่ยงการใช้มือขยี้ตาแคะจมูกหรือเข้าปาก
4. หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ และอย่าตรากตรำงานหนัก
5. ดูแลร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ โดยเฉพาะผู้สูงอายุสวมเสื้อผ้าให้เหมาะกับฤดูกาล ไม่ควรตากฝนหรือตากแดดที่ร้อนจัดเป็นเวลานานๆ
6. ไม่ควรอยู่ในสถานที่มีคนแออัด โดยเฉพาะเมื่อมีการระบาดของโรคหวัด
7. ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ สำหรับผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ หรือมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคแทรกซ้อน วัคซีนจะป้องกันโรคได้ต่อปี และหลังฉีด 2 สัปดาห์ ร่างกายจึงภูมิคุ้มกันสูงพอในการป้องกันโรค ควรฉีดก่อนมีการระบาดของโรคหวัด