โรคมะเร็งเป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในปัจจุบันซึ่งมีมลภาวะจากการพัฒนาประเทศ และประชาชนขาดความเอาใจใส่ต่อสุขภาพตนเอง ขาดการออกกำลังกาย รับประทานอาหารไม่เลือก เหล่าเป็นสาเหตุให้มะเร็งเพิ่มขึ้น
โรคมะเร็งเป็นโรคที่ป้องกันได้ และสามารถรักษาให้หายขาดได้หากสามารถวินิจฉัยได้ตั้งแต่เริ่มเป็น เนื้อหาที่นำเสนอจะเป็นแนวทางการตรวจและวินิจฉัย พร้อมทั้งแผนการรักษา ท่านผู้อ่านควรทำความเข้าใจ และนำความรู้ที่ได้ปรึกษาแพทย์ของท่านเกี่ยวกับวิธีรักษาของมะเร็งแต่ละชนิด
มะเร็ง คือ กลุ่มของโรคที่เซลล์เจริญ(แบ่งตัว) อย่างผิดปกติ การที่เซลล์เปลี่ยนสภาพไปจากปกติจะไม่อยู่ในการควบคุมวัฏจักรการแบ่งตัว รุกรานเนื้อเยื่อข้างเคียง หรืออาจแพร่กระจายไปยังที่อื่น ๆ (การแพร่กระจายของเนื้อร้าย) ลักษณะทั้งสามประการที่กล่าวมานี้เป็นคุณสมบัติของเนื้อร้ายซึ่งต่างจาก เนื้องอก ซึ่งไม่ร้ายแรงเพราะไม่รุกรานหรือแพร่กระจาย และขนาดจะไม่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มะเร็งทั้งหมดยกเว้นมะเร็งเม็ดเลือดขาวจะมีลักษณะเป็นก้อนเนื้อ
มะเร็งเกิดขึ้นได้โดยสารพันธุกรรมหรือยีนซึ่งควบคุมการทำงานของเซลล์ผิดปกติไป โดยที่ความผิดปกติของสารพันธุกรรมนั้นเป็นผลมาจากสารก่อมะเร็ง อาทิ ยาสูบ ควัน รังสี สารเคมีอย่างอื่น หรือ เชื้อโรค ยีนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับมะเร็งอาจเกิดขึ้นได้อย่างไม่จำเพาะเจาะจงระหว่างการทำสำเนาของดีเอ็นเอ หรืออาจถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ซึ่งสามารถตรวจพบได้ในทุกเซลล์หลังจากคลอด การถ่ายทอดทางพันธุกรรมของมะเร็งนั้นได้รับอิทธิพลจากปัจจัยอย่างอื่นๆ ด้วย
ชนิดของมะเร็ง
ชนิดของมะเร็งจะแบ่งตามชนิดของเซลล์ที่เป็นต้นกำเนิด เช่น
- carcinomas เซลล์ต้นกำเนิดเกิดเซลล์บุผิว (epithelium)มะเร็งชนิดนี้เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดประมาณร้อยละ 85
- Sarcomas เป็นมะเร็งที่เกิดจากเนื้อเยื่อผูกพัน(connective tissue) เช่นกล้ามเนื้อ กระดูก ไขมัน
- leukemia/lymphoma เป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์เม็ดเลือด
- มะเร็งอื่นๆ เช่น มะเร็งสมอง
ผู้ชายเราพบมะเร็ง
- มะเร็งปอด 19%
- มะเร็งต่อมลูกหมาก 17 %
- มะเร็งลำไส้ใหญ่ 14 %
- มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ 7 %
ผู้หญิง
- มะเร็งเต้านม 29%
- มะเร็งลำไส้ใหญ่ 12%
- มะเร็งปอด 11%
- มะเร็งรังไข่ 5%
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทที่สำคัญ คือ
1. เกิดจากสิ่งแวดล้อมหรือภายนอกร่างกาย ซึ่งปัจจุบันนี้เชื่อกันว่ามะเร็ง ส่วนใหญ่ เกิดจากสาเหตุได้แก่
1.1 สารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อนในอาหารและเครื่องดื่ม เช่น
- สารพิษจาก เชื้อราที่มีชื่อ อัลฟาทอกซิน (Alfatoxin)
- สารก่อมะเร็งที่เกิดจากการปิ้ง ย่าง พวกไฮโดคาร์บอน (Hydrocarbon)
- สารเคมีที่ใช้ในขบวนการถนอมอาหาร ชื่อไนโตรซามิน (Nitosamine)
- สีผสมอาหารที่มาจากสีย้อมผ้า
1.2 รังสีเอ็กซเรย์ อุลตราไวโอเลตจากแสงแดด
1.3 เชื้อไวรัส ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสฮิวแมนแพบพิลโลมา
1.4 การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ
1.5 จากพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การสูบบุหรี่และดื่มสุรา เป็นต้น
1.6 สาเหตุอื่น ๆ ทำให้เกิดการทำลายดีเอ็นเอ เช่น มลภาวะจากสิ่งแวดล้อม, สารอนุมูลอิสระ
- สารพิษจาก เชื้อราที่มีชื่อ อัลฟาทอกซิน (Alfatoxin)
- สารก่อมะเร็งที่เกิดจากการปิ้ง ย่าง พวกไฮโดคาร์บอน (Hydrocarbon)
- สารเคมีที่ใช้ในขบวนการถนอมอาหาร ชื่อไนโตรซามิน (Nitosamine)
- สีผสมอาหารที่มาจากสีย้อมผ้า
1.2 รังสีเอ็กซเรย์ อุลตราไวโอเลตจากแสงแดด
1.3 เชื้อไวรัส ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสฮิวแมนแพบพิลโลมา
1.4 การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ
1.5 จากพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การสูบบุหรี่และดื่มสุรา เป็นต้น
1.6 สาเหตุอื่น ๆ ทำให้เกิดการทำลายดีเอ็นเอ เช่น มลภาวะจากสิ่งแวดล้อม, สารอนุมูลอิสระ
2. เกิดจากความผิดปกติภายในร่างกาย ซึ่งมีเป็นส่วนน้อย เช่น
- เด็กที่มีความพิการ มาแต่ กำเนิดมีโอกาสเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว
- การมีภูมิคุ้มกันที่บกพร่อง
- ภาวะ ทุพโภชนาการ เช่น การขาดไวตามินบางชนิด เช่น ไวตามินเอ ซี เป็นต้น
- เด็กที่มีความพิการ มาแต่ กำเนิดมีโอกาสเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว
- การมีภูมิคุ้มกันที่บกพร่อง
- ภาวะ ทุพโภชนาการ เช่น การขาดไวตามินบางชนิด เช่น ไวตามินเอ ซี เป็นต้น
ในภาวะปกติการดีเอ็นเอที่เสียหายจะมีระบบซ่อมแซมและเซลล์ที่กลายพันธุ์จะถูกระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลายทิ้งหากร่างกายอ่อนแอและระบบภูมิคุ้มกันไม่ดี เช่น
ภาวะขาดสารอาหาร ทำให้เกิดการทำลายดีเอ็นเอซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นเวลานานจนไม่สามารถคืนสู่สภาวะปกติได้และกลายพันธุ์แบ่งเป็นสองแบบคือ
1) เพิ่มการทำงานของยีนก่อมะเร็ง ( oncogene ) มากขึ้นซึ่งยีนนี้ในภาวะปกติจะมีหน้าที่หลักในการควบคุมการแบ่งตัวและการเจริญเติบโตของเซลล์
หากมีมากขึ้นจะทำให้เซลล์แบ่งตัวแบบควบคุมไม่ได้ หรือ
2) มีการทำลายส่วนของยีนที่ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ ( tumor suppressor gene ) ทำให้ยีนนี้เสียหน้าที่ไป จึงไม่สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ที่มากเกิน
ดังนั้นจะเห็นว่า มะเร็งส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อม ทำให้ มะเร็ง ก็น่าจะเป็นโรคที่สามารถ ป้องกัน ได้เช่นเดียวกับโรคติดเชื้ออื่นๆ (Hill R.P,Tannock IF,1987)
ถ้าประชาชนมี ความรู้เกี่ยวกับสารก่อมะเร็ง และสารช่วยหรือให้เกิดมะเร็งที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมแล้ว พยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเหล่านั้น เช่น
- งดสูบบุหรี่ หรือหลีกเลี่ยงจากบริเวณ ที่มีควันบุหรี่
- หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา
และต้องรู้จักการดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ เช่น
- เลือกรับประทานอาหารที่สะอาด
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑฑ์ปกติ โดยคิดจากดัชนีความหนาของร่างกาย (BMI/Body mass index)
- การบริโภคผักและผลไม้ วันละ 400-800 กรัม
- รับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูง
สำหรับสาเหตุภายในร่างกายนั้นการป้องกันคงไม่ได้ผลแต่ทำให้ ทราบว่า ตนเองจัดอยู่ในกลุ่มที่มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็น มะเร็งสูงหรือมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ
ดังนั้นก็ควรไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับความรู้เรื่องมะเร็งต่อไป
กรณีที่เป็น มะเร็ง ได้ตรวจพบตั้งแต่ระยะแรก ซึ่งจะมีการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดี