โรคเบาหวาน
โรคเบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น มีสาเหตุมาจากการหลั่งอินซูลิน (insulin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่เพียงพอ เรียกว่ามี ภาวะขาดอินซูลิน หรือเกิดจากความสามารถในการตอบสนองต่อฤทธิ์ของอินซูลินลดลง เรียกว่ามี ภาวะดื้ออินซูลิน หรือเกิดจากสาเหตุทั้งสองอย่าง คือ ในบุคคลคนเดียวกันอาจมีทั้งความผิดปกติในการหลั่งอินซูลิน และการตอบสนองต่อฤทธิ์ของอินซูลินลดลง และบ่อยครั้งที่ยากจะบอกว่า การขาดอินซูลิน หรือดื้ออินซูลิน เป็นสาเหตุเริ่มต้นที่ทำให้เกิดระดับน้ำตาลในเลือดสูง การที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานๆ ส่งผลให้อวัยวะและเนื้อเยื่อทั้งหมดของร่างกายมีความผิดปกติในการทำงานเกิดขึ้น และท้ายที่สุดทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนขึ้นในอวัยวะต่างๆ ได้แก่ ตา ไต เส้นประสาทและสมอง หัวใจ หรือเกิดปัญหาที่เท้า
องค์การอนามัยโลกและสมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ ได้ติดตามสถานการณ์ของโรคเบาหวานมาอย่างต่อเนื่อง พบว่า จำนวนผู้เป็นโรคเบาหวานเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก โดยไม่มีแนวโน้มว่าจะลดลงหรือคงตัว ใน พ.ศ. 2553 จำนวนผู้เป็นโรคเบาหวานทั่วโลกมีมากกว่า 285 ล้านคน หากไม่ดำเนินการอย่างเหมาะสมแล้ว คาดว่า อีก 20 ปี พ.ศ. 2573 จะเพิ่มขึ้นเป็น 439 ล้านคน ดังนั้นสมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ องค์การอนามัยโลก และองค์กรที่เกี่ยวข้อง ต่างก็ตระหนักเป็นอย่างดีว่า โรคเบาหวานเป็นปัญหาสาธารณสุขของทุกประเทศทั่วโลก จึงได้นำประเด็นโรคเบาหวานเข้าสู่ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ และสมัชชา ได้ผ่านญัตติให้โรคเบาหวานเป็นปัญหาระดับโลก เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2549 โดยองค์การสหประชาชาติได้ขอความร่วมมือจากประเทศสมาชิก ให้จัดหามาตรการดำเนินการ เพื่อลดปัญหาโรคเบาหวานในประเทศของตน มีการป้องกัน และดูแลโรคเบาหวานที่ครอบคลุม อย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ และอย่างยั่งยืน
เมื่อเป็นโรคเบาหวานแล้วมักจะเกิดโรคแทรกซ้อนที่ก่อให้เกิดการเจ็บป่วย ความพิการ หรือเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ทำให้ผู้ป่วย และครอบครัว มีภาระและต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสูงมาก ดังนั้นประเทศไทยจำเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วน เพื่อป้องกัน และลดปัญหาโรคเบาหวานที่คุกคามคนไทย มีความจำเป็นที่คนไทยทุกคนจะต้องรู้จักโรคเบาหวาน ตระหนักถึงปัญหา และภัยของโรคเบาหวาน มีความตื่นตัวเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเอง รู้วิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรคเบาหวานขึ้น มีการตรวจค้นหา และวินิจฉัยโรคเบาหวานให้ได้เร็วที่สุด เพื่อให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมตั้งแต่ระยะเริ่มแรกที่เป็นโรคนี้ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิผลในการดูแลรักษาโรคให้ได้ตามเกณฑ์หรือเป้าหมายที่กำหนด ซึ่งจะช่วยลดอัตราความพิการ การเสียชีวิตที่เกิดจากโรคเบาหวาน ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และช่วยให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมีคุณภาพชีวิตที่ดี ใกล้เคียงกับคนปกติทั่วไป
เบาหวานเกิดได้จากหลายสาเหตุ มักไม่ได้เป็นจากสาเหตุใดสาเพตุหนึ่ง แต่เป็นจากหลายหลายสาเหตุร่วมกัน ได้แก
1. กรรมพันธุ์
เบาหวานมีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ส่วนหนึ่ง แต่ผู้ที่มีญาติสายตรง อาทิเช่นพ่อ แม่ พี่ น้อง เป็นเบาหวานก็ไม่จำเป็นต้องป่วยเป็น
โรคเบาหวานทุกราย ทั้งนี้ขึ้นกับการควบคุมดูแลปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่น
2. โรคอ้วน
ผู้ที่มีน้ำหนักมาก ไขมันส่วนเกินจะสร้างสารที่ทำให้การตอบสนองของเนื้อเยื่อร่างกายต่ออินซูลินไม่ดี หรือนัยหนึ่ง เกิดภาวะ
ดื้อต่ออินซูลินขึ้น
3. ผู้สูงอายุ
เมื่ออายุมากขึ้น ตับอ่อนจะเสื่อมการทำงานลง ทำให้การสังเคราะห์และการหลั่งอินซูลินลดลง
4. โรคของตับอ่อน
เช่น ภาวะตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง จากการดื่มเหล้า ยา หรือไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
5. การติดเชื้อไวรัสบางชนิดเมื่อยังเป็นเด็ก
เช่น หัด หัดเยอรมัน คางทูม โดยพบว่า เด็กที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าว มีโอกาสเป็นเบาหวานเมื่อายุมากขึ้น เมื่อเทียบกับเด็กที่
ไม่ได้ป่วย
6. การได้รับยาบางชนิด
เช่น สเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิดบางชนิด ซึ่งยาเหล่านี้ทำให้มีการสร้างน้ำตาลที่ตับมากขึ้น หรือเกิดการตอบ
สนองของอินซูลินแย่ลง
7. การตั้งครรภ์
เนื่องจากขณะตั้งครรภ์จะมีการฮอร์โมนจากรก ซึ่งมีผลต่อต้านการทำงานของอินซูลิน
1. กรรมพันธุ์
เบาหวานมีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ส่วนหนึ่ง แต่ผู้ที่มีญาติสายตรง อาทิเช่นพ่อ แม่ พี่ น้อง เป็นเบาหวานก็ไม่จำเป็นต้องป่วยเป็น
โรคเบาหวานทุกราย ทั้งนี้ขึ้นกับการควบคุมดูแลปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่น
2. โรคอ้วน
ผู้ที่มีน้ำหนักมาก ไขมันส่วนเกินจะสร้างสารที่ทำให้การตอบสนองของเนื้อเยื่อร่างกายต่ออินซูลินไม่ดี หรือนัยหนึ่ง เกิดภาวะ
ดื้อต่ออินซูลินขึ้น
3. ผู้สูงอายุ
เมื่ออายุมากขึ้น ตับอ่อนจะเสื่อมการทำงานลง ทำให้การสังเคราะห์และการหลั่งอินซูลินลดลง
4. โรคของตับอ่อน
เช่น ภาวะตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง จากการดื่มเหล้า ยา หรือไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
5. การติดเชื้อไวรัสบางชนิดเมื่อยังเป็นเด็ก
เช่น หัด หัดเยอรมัน คางทูม โดยพบว่า เด็กที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าว มีโอกาสเป็นเบาหวานเมื่อายุมากขึ้น เมื่อเทียบกับเด็กที่
ไม่ได้ป่วย
6. การได้รับยาบางชนิด
เช่น สเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิดบางชนิด ซึ่งยาเหล่านี้ทำให้มีการสร้างน้ำตาลที่ตับมากขึ้น หรือเกิดการตอบ
สนองของอินซูลินแย่ลง
7. การตั้งครรภ์
เนื่องจากขณะตั้งครรภ์จะมีการฮอร์โมนจากรก ซึ่งมีผลต่อต้านการทำงานของอินซูลิน
ชนิดของโรคเบาหวาน หากตามเกณฑ์ของสมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา (American Diabetes Association : ADA) พ.ศ. 2540 และองค์การอนามัยโลก จำแนกโรคเบาหวานออกเป็น 4 ชนิด ตามสาเหตุการเกิด ดังนี้
1. โรคเบาหวานชนิดที่ ๑ (diabetes mellitus type 1)
2. โรคเบาหวานชนิดที่ ๒ (diabetes mellitus type 2)
3. โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ (diabetes mellitus caused by specific condition)
4. โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (gestational diabetes mellitus)
1. โรคเบาหวานชนิดที่ ๑ (diabetes mellitus type 1)
2. โรคเบาหวานชนิดที่ ๒ (diabetes mellitus type 2)
3. โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ (diabetes mellitus caused by specific condition)
4. โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (gestational diabetes mellitus)
โรคเบาหวานชนิดที่ 1
เป็นเบาหวานที่เกิดจากบีตาเซลล์ของตับอ่อนถูกทำลายจนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ จึงขาดอินซูลินที่จะควบคุมระดับน้ำตาล การทำลายบีตาเซลล์ของตับอ่อนจำนวนมาก เป็นผลจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ สร้างภูมิที่ทำลายบีตาเซลล์ของตนเอง (autoimmune process) ส่วนน้อยเท่านั้นที่ไม่ทราบสาเหตุ และพบว่ามีสายพันธุกรรมที่เป็นความเสี่ยง ของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ทำให้เกิดโรค โดยอาจมีหรือไม่มีปัจจัยซ้ำเติมอื่นจากภายนอก ซึ่งสายพันธุกรรม ที่เป็นความเสี่ยงในแต่ละชนชาติจะไม่เหมือนกัน โรคเบาหวานชนิดที่ 1 มักพบในเด็กและผู้ที่มีอายุน้อย มีอาการชัดเจนและรวดเร็ว เนื่องจากมีภาวะขาดอินซูลิน จึงจำเป็นต้องใช้ยาฉีดอินซูลิน เพื่อการรักษาตั้งแต่เริ่มแรก และเพื่อป้องกันการเกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง และเลือดเป็นกรด
เป็นเบาหวานที่เกิดจากบีตาเซลล์ของตับอ่อนถูกทำลายจนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ จึงขาดอินซูลินที่จะควบคุมระดับน้ำตาล การทำลายบีตาเซลล์ของตับอ่อนจำนวนมาก เป็นผลจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ สร้างภูมิที่ทำลายบีตาเซลล์ของตนเอง (autoimmune process) ส่วนน้อยเท่านั้นที่ไม่ทราบสาเหตุ และพบว่ามีสายพันธุกรรมที่เป็นความเสี่ยง ของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ทำให้เกิดโรค โดยอาจมีหรือไม่มีปัจจัยซ้ำเติมอื่นจากภายนอก ซึ่งสายพันธุกรรม ที่เป็นความเสี่ยงในแต่ละชนชาติจะไม่เหมือนกัน โรคเบาหวานชนิดที่ 1 มักพบในเด็กและผู้ที่มีอายุน้อย มีอาการชัดเจนและรวดเร็ว เนื่องจากมีภาวะขาดอินซูลิน จึงจำเป็นต้องใช้ยาฉีดอินซูลิน เพื่อการรักษาตั้งแต่เริ่มแรก และเพื่อป้องกันการเกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง และเลือดเป็นกรด
โรคเบาหวานชนิดที่ 2
เป็นเบาหวานที่เกิดจากปัจจัยหลายๆ อย่างร่วมกัน โดยมีทั้งปัจจัยทางพันธุกรรม และปัจจัยจากภายนอก ทั้งนี้สายพันธุกรรมที่เป็นความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แตกต่างจากโรคเบาหวานชนิดที่ 1 โดยมีปัจจัยซ้ำเติมอื่นจากภายนอก เป็นส่วนประกอบสำคัญ สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 คือ ภาวะดื้ออินซูลิน และมีความผิดปกติในการหลั่งอินซูลินของตับอ่อน ในระยะแรก ตับอ่อนต้องผลิต และหลั่งอินซูลินมากขึ้น เพื่อเอาชนะภาวะดื้ออินซูลิน หากไม่มีการแก้ไข ในระยะยาว สมรรถภาพของตับอ่อนจะเริ่มลดลงจนเกิดภาวะพร่องอินซูลิน และเป็นโรคเบาหวานในที่สุด
เมื่อเกิดโรคเบาหวานแล้ว สมรรถภาพของตับอ่อนจะลดลงเป็นลำดับตามระยะเวลาที่เป็นโรค และผลการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ท้ายที่สุดเกิดภาวะขาดอินซูลิน การที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ทำให้ตับอ่อนเสื่อมสมรรถภาพเร็วขึ้น ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะพร่องอินซูลินหรือภาวะขาดอินซูลิน จึงจำเป็นต้องได้รับยาฉีดอินซูลินเสริม เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
สำหรับปัจจัยซ้ำเติมจากภายนอกที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน ได้แก่ พฤติกรรมการดำรงชีวิตที่ไม่ถูกต้อง รับประทานอาหารมากเกินความต้องการ อาหารที่รับประทานไม่ถูกหลักโภชนาการ ขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสม นั่งทำงานอยู่ที่โต๊ะเป็นประจำ ใช้อุปกรณ์ผ่อนแรงหลากหลาย และภาวะเร่งรีบ ของชีวิตคนในเมือง รวมทั้งภาวะเครียด
สำหรับปัจจัยซ้ำเติมจากภายนอกที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน ได้แก่ พฤติกรรมการดำรงชีวิตที่ไม่ถูกต้อง รับประทานอาหารมากเกินความต้องการ อาหารที่รับประทานไม่ถูกหลักโภชนาการ ขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสม นั่งทำงานอยู่ที่โต๊ะเป็นประจำ ใช้อุปกรณ์ผ่อนแรงหลากหลาย และภาวะเร่งรีบ ของชีวิตคนในเมือง รวมทั้งภาวะเครียด
โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ
เป็นโรคเบาหวานที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ทราบรูปแบบชัดเจน และเกิดจากโรคของตับอ่อน เช่น ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง มีธาตุเหล็กสะสมที่ตับอ่อนจำนวนมาก หรือถูกตัดตับอ่อน นอกจากสองสาเหตุดังกล่าวแล้ว ยังมีความผิดปกติ ของระบบฮอร์โมนที่ผลิตมากเกินควร เช่น ผลิตฮอร์โมนการเจริญเติบโตมากเกินไป ผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลมากเกิน เกิดจากยา หรือสารเคมี และอื่นๆ
เป็นโรคเบาหวานที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ทราบรูปแบบชัดเจน และเกิดจากโรคของตับอ่อน เช่น ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง มีธาตุเหล็กสะสมที่ตับอ่อนจำนวนมาก หรือถูกตัดตับอ่อน นอกจากสองสาเหตุดังกล่าวแล้ว ยังมีความผิดปกติ ของระบบฮอร์โมนที่ผลิตมากเกินควร เช่น ผลิตฮอร์โมนการเจริญเติบโตมากเกินไป ผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลมากเกิน เกิดจากยา หรือสารเคมี และอื่นๆ
โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
หมายถึง โรคเบาหวานที่ได้รับการวินิจฉัยในขณะตั้งครรภ์ มักเกิดในหญิงมีครรภ์ ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ร่วมกับผลของฮอร์โมนจากรก และฮอร์โมนเพศ ที่เพิ่มสูงมากขณะตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่ระดับน้ำตาลในเลือดกลับเป็นปกติหลังคลอดบุตร ผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มีโอกาสที่จะเกิดโรคเบาหวานในอนาคตสูงมากขึ้น