จัดเป็นปัญหาหลักทางสาธารณสุขที่พบมากขึ้นโดยเฉพาะในประเทศไทยพบว่าคนที่อยู่ในเมืองที่มีอาหารการกินอุดมสมบูรณ์มีปัญหาเกี่ยวกับโรคอ้วน อีกทั้งยังมีปัญหาการเจ็บป่วยต่าง ๆ มากมายสืบนื่องมาจากโรคอ้วน มีคนจำนวนมากที่เข้าใจผิดว่าการมีไขมันส่วนเกินเพียงเล็กน้อยที่หน้าท้อง ต้นแขน ต้นขา ก็ถือว่า "อ้วน" ซึ่งถือว่าเป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่งเนื่องจากคำว่า "อ้วน" ในความหมายของคนทั่วไป กับความหมายทางวิชาการมีความแตกต่างกันและควรที่จะมีความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาว่ามีความคิดวิตกกังวลว่าตนเอง "อ้วน" ทั้งที่จริง ๆ แล้วน้ำหนักยังอยู่ในเกณฑ์ปกติในทางวิชาการมีเกณฑ์ที่ใช้ในการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอ้วนหรือไม่ ขององค์การอนามัยโลกโดยใช้ดัชนีมวลกายหรือ Body Mass Index (BMI) ค่าที่ได้ดังกล่าวได้มาจากการคำนวณ ค่าน้ำหนักตัวปกติซึ่งควรอยู่ในช่วง18.5-24.9 และจะถือว่าเป็นโรคอ้วนเมื่อมีค่า BMI มากกว่า 30 ขึ้นไป ในบทความนี้จะมีวิธีคำนวณค่าBMI เพื่อให้ผู้ที่สนใจลองคำนวณหาค่า BMI ของตนเอง และจะได้ประเมินว่าร่างกายของท่านอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่ ร่วมกับการพิจารณาประกอบว่าควรจะลดน้ำหนักลงมากน้อยเพียงใดและเมื่อท่าน "อ้วน"มีปัจจัยเสี่ยงของโรคใดบ้าง และท่านควรปฏิบัติตนอย่างไรในการลดน้ำหนัก เพื่อช่วยให้ท่านสามารถลด น้ำหนักได้ และมีสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจสมบูรณ์ดีสามารถปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆในชีวิตประจำวันได้ และมี น้ำหนักเหมาะสมกับส่วนสูงและอายุของตนเองหรือไม่
ดัชนีมวลกาย หรือ Body Mass Index (BMI) คือค่าที่ได้จากการนำน้ำหนักตัวและ
ส่วนสูง มาคำนวณ เพื่อประเมินหาส่วนไขมันในร่างกาย ซึ่งค่า ดังกล่าวนิยมใช้ในการคำนวณอย่างแพร่หลาย เนื่องจากคำนวณง่าย และสามารถใช้ได้กับทุกเพศ ทุกวัย และทุกเชื้อชาติ
BMI มากกว่า 30 ถือว่า "อ้วน" (obesity) นอกจากนี้มีการจำแนกประเภทดัชนีมวลกาย (BMI) ตาม
เกณฑ์ของ International Obesity Task Force (IOTF) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงต่อ การเกิดโรคอ้วนได้
คนเรารับประทานอาหารเข้าไปไม่ว่าจะเป็นประเภทแป้ง หรือโปรตีนหากพลังงานที่ได้รับเกินความต้องการร่างกายก็จะสะสมอาหารส่วนเกินเหล่านั้นในรูปไขมัน สะสมมากขึ้นจนกลายเป็นโรคอ้วน ดังนั้น คนที่อ้วนเกิดจากเรารับอาหารที่มีพลังงานมากกว่าพลังงานที่เราใช้ไป สาเหตุจริงๆยังไม่ทราบแน่ชัด โรคอ้วนมักจะมีสาเหตุต่างๆดังนี้
- การรับประทานอาหาร หากรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูงเป็นประจำ จะให้น้ำหนักเกินโดยเฉพาะอาหารที่มีไขมัน และแป้งสูงซึ่งมักจะพบในอาหารจานด่วน
- ประเภทของอาหาร โดยเฉพาะผู้ที่ชอบรับประทานอาหารที่มีน้ำตาล ไม่ว่าจะเป็นกลูโคส sugars, fructose,น้ำหวาน เครื่องดื่ม ไวน์ เบียร์ อาหารเหล่านี้จะดูดซึมอย่างรวดเร็ว และทำให้ร่างกายหลั่งอินซูลินเป็นปริมาณมาก ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นสาเหตุของโรคอ้วน
- ภาวะที่ร่างกายเผาพลาญพลังงานน้อย ผู้ชายจะมีกล้ามเนื้อมากว่าผู้หญิง กล้ามเนื้อจะเผาพลังงานได้มากดังนั้นผู้หญิงจึงอ้วนง่ายกว่าผู้ชายและลดน้ำหนักยาก
- โรคต่อมไร้ท่อ เช่นต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยจะมีน้ำหนักเกินเนื่องจากร่างกายเผาผลาญอาหารน้อยลง โรค cushing ร่างกายสร้างฮอร์โมน cortisol มากทำให้ร่างกายมีการสะสมไขมัน ฮอร์โมนนี้อาจจะมาจากร่างกายสร้างเอง หรือจากลูกกลอน ยาแก้หอบ ยาชุด หรือร่างกายสร้างขึ้นเนื่องจากเนื้องอกต่อมหมวกไต
- จากยา ยาบางชนิดทำให้ความอยากอาหารเพิ่ม เช่นยาคุมกำเนิด ยาแก้โรคซึมเศร้า tricyclic antidepressant,phenothiazine ยาลดความดัน beta-block ยารักษาเบาหวาน ยาคุมกำเนิด ยา steroid
- กรรมพันธุ์ จะพบว่าบางครอบครัวจะอ้วนทั้งหมดซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากพันธุกรรม เช่นคนที่เป็นโรคขาด leptin ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ส่งไปยังสมองทำให้เรารับอาหารน้อยลง แต่อีกส่วนหนึ่งอาจจะเกิดจากวัฒนธรรมการรับประทานอาหารและความเป็นอยู่
- วัฒนธรรมการดำรงชีวิตและอาหารซึ่งเห็นได้ว่าบางชาติจะมีน้ำหนักเกินเนื่องจากอาหารของชาตินั้นนิยมอาหารมันๆ
- ความผิดปกติทางจิตใจทำให้รับประทานอาหารมาก เช่นบางคนเศร้า เครียด แล้วรับประทานอาหารเก่ง
- การดำเนินชีวิตอย่างสบาย มีเครื่องอำนวยความสะดวดมากมาย และขาดการออกกำลังกาย มีรถยนต์ มีเครื่องทุ่นแรง มีทีวีรายการดีๆให้ดู มีสื่อโฆษณาถึงน้ำหวาน น้ำอัดลม เหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงโรคอ้วนตั้งแต่ในวัยเด็ก