วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

โรคหนองในเทียม


             หนองในเทียม (Chlamydia infection  เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อย มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่า คลามัยเดีย ทราโคมาทิส (Chlamydia tra chomatis) โรคหนองในเทียมมักจะไม่ปรากฏอาการให้เห็นอย่างชัดเจน แต่มักจะก่อให้เกิดการทำลายระบบอวัยวะสืบพันธุ์ของผู้หญิงอย่างมาก จนอาจทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก ในผู้ ชายอาการที่อาจพบได้ คือมีน้ำลักษณะคล้ายหนองไหลออกจากอวัยวะเพศได้


          เชื้อต้นเหตุ  เชื้อที่เป็นสาเหตุสำคัญบ่อยที่สุด คือ คลามีเดีย ทราโคมาทิส (Chlamydia trachomatis) นอกจากนี้  ยังมีเชื้อยูเรียพลาสมายูเรียไลทิคุม  (Ureaplasma urealyticum)

          ระยะฟักตัว นานประมาณ ๗-๑๔ วัน

          ลักษณะอาการ  ผู้ป่วยมักจะมีอาการแสบหรือรู้สึกขัดเวลาถ่ายปัสสาวะและมีหนองใสๆ  บางรายมีอาการคันในท่อปัสสาวะ  หรือมีรอยแดงๆ บริเวณปากท่อปัสสาวะ  มักมีหนองไหลในตอนเช้าๆ ในบางรายอาจมีเชื้ออยู่โดยไม่มีอาการก็ได้  ผู้ป่วยที่ติดเชื้อคลามีเดีย บางคนอาจมีอาการแทรกซ้อน เช่น  เกิดการอักเสบลุกลามไปยังต่อมลูกหมาก ถุงอัณฑะ ทำให้เกิดเป็นหมันตามมา  ในหญิงที่ติดเชื้อนี้มักไม่แสดงอาการชัดเจน บางรายจะมีตกขาวมาก  ตรวจพบปากมดลูกอักเสบ  เชื้ออาจลุกลามเข้าสู่อวัยวะภายใน  เกิดการอักเสบของอวัยวะสืบพันธุ์ในช่องเชิงกราน  ทำให้เกิดอาการไข้ ปวดท้องน้อย ท่อรังไข่อักเสบตีบตัน เกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกหรือเป็นหมัน     นอกจากนี้ถ้ามารดามีเชื้อที่บริเวณปากมดลูก  ทารกที่คลอดผ่านออกมาจะได้รับเชื้อเข้าตา ทำให้เกิดตาอักเสบในระยะแรกคลอด และถ้าทารกที่ตาอักเสบนี้ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง จะเกิดโรคกับอวัยวะระบบอื่นได้ ที่สำคัญคือปวดบวม

          การติดต่อ  ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ นอกจากนั้น ทารกแรกเกิดอาจได้รับการติดเชื้อจากมารดาก็ได้

         การป้องกันและควบคุมโรค   เมื่อพบผู้ป่วยจำเป็นต้องให้ยารักษาจนครบกำหนด   และแนะนำให้นำคู่สมรสมาตรวจรักษาด้วย  ในระยะที่มีอาการควรงดการร่วมเพศ  ไม่ควรประพฤติสำส่อนทางเพศ  และการใช้ถุงยางอนามัยจะช่วยป้องกันโรคได้

         มีผู้เป็นหนองในเทียมมากน้อยเพียงใด?
          ในสหรัฐอเมริกา หนองในเทียมเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบมากที่สุด อย่างไรก็ตามอุบัติการณ์ที่รายงานโดยทั่วไปมักต่ำกว่าความเป็นจริง เพราะผู้ที่ติดเชื้อมักไม่มีอาการ ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้ไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา กองควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ในประเทศไทย ปี พ.ศ.2548 รายงานอุบัติการณ์ของโรคหนองในเทียมเท่ากับ 26.35% ของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อย่างไรก็ตามข้อมูลดังกล่าวน่าจะต่ำกว่าความเป็นจริงเพราะโรคหนองในเทียมมักจะไม่ปรากฏอาการทำให้ผู้ป่วยส่วนหนึ่งไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค